

|
อุบลชาติ Nymphaea
อุบลชาติหรือบัวสาย
เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่มีในทุกภูมิภาคของโลก
สมัยโบราณชาวอียิปต์ใช้อุบลชาติเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์บูชาเทพเจ้า
มีผู้พบอุบลชาติแห้งในสุสานฝังพระศพของกษัตริย์รามาเลสและตุตันคาเมน
อายุ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว คิดว่าเป็น "บัวหลวง"
ที่มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Lotus จึงเรียกว่า “บัวศักดิ์สิทธิ์แห่งอียิปต์"
The Sacred Lotus of Egypt ต่อมานักพฤกษศาสตร์ได้นำดอกบัวแห้งนั้นมาศึกษาลักษณะ
และแยกตามอนุกรมวิธานของพืช จึงทราบความจริงว่าไม่ใช่บัวหลวง
แต่เป็นอุบลชาติพันธุ์บานกลางคืนดอกสีขาว
จึงได้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ของอุบลชาติพันธุ์นั้นว่า Nymphaea Lotus Linn.
นักเกษตรเรียกว่า Tropical water-lily เพราะว่าอุบลชาติประเภทนี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนเขตเดียว
ถ้าปลูกในเขตอบอุ่นหรือหนาว จะมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ก็จะตายเมื่อเข้าฤดูหนาวและน้ำแข็งตัว
ในเมืองไทยเรารู้จักบัวสายมานานนักหนาแล้ว
เฉพาะประโยซน์ของบัวสายในชีวิตประจำวันของคนไทยนั้น
เราใช้ลำต้นที่เรียกว่า "สายบัว” เป็นอาหารมาช้านาน
ทั้งจิ้มน้ำพริก ผัด และต้มกระทิ
ไทยเราเรียกบัวสายว่า อุบลชาติ
ชาวอินเดียเรียกว่า โกมุทินีหรือจันทรวิกาสี
บัวสายในเมืองไทยมีหลายชนิด
บัวสาย บัวกินสาย หรือบัวขม
ก็เรียกนั้น พระยาวินิจวนันดรเขียนนามพฤกษศาสตร์ใว้ว่า Nymphaea lotus var pubescens
มีหัวกลม ๆ สายใหญ่เท่าปลายนิ้วก้อย เป็นขนเล็กน้อย ใบมน ๆ ท้องใบสีเลือดหมู มีขน
ขอบใบจักแหลมเป็นฟันเลื่อย ดอกสีขาว กลีบดอกตอนนอก ๆ มีสีอมชมพู กลีบใหญ่
ปลายทู่หรือแหลมเมื่อดอกบานใหญ่เท่าฝ่ามือ
บัวขาว Nymphaea lotus Linn.
ดอกใหญ่ลีขาว ในทางกวีเรียกว่า โกมุท เศวตอุบล สัตบุษย์
บัวแดง Nymphaea lotus Linn.
ดอกใหญ่สีแดง มีชื่อทางกวีว่า รัตตอุบล สัตตบรรณ
ทั้งสามพันธุ์นี้ไม่มีเองตามธรรมชาติ คงมีแต่ปลูกกันไว้ชมดอกเท่านั้น
สายรับประทานได้ แต่กระด้างไม่อร่อย บัวสายเหล่านี้ตั้งต้นบานเวลาค่ำ และหุบกลีบหลังเที่ยงวันรุ่งขึ้น
บัวขาบ Nymphaea capensis ฉนกberg หรือ Nymphaea
caerulea saฬ1gny ดอกใหญ่สีม่วงคราม ดอกหอม บานตลอด
วัน ทางกวีเรียกว่า บัวนิล นิลอุบล นิลุบล นิโลตบล ทางเหนือ
เรียก ป้านดำ หรือป้านสังก๋อน
บัวเผื่อน Nymphaea stellata หัวกลม ดอกเล็กลีขาวซีด
กลีบในไม่มีสีครามปนเลย หรือมีเพียงจาง ๆ จนแทบมองไม่เห็น
และไม่เปลี่ยนสี ดอกบานกลางวันมีกลิ่นหอม พระอาจวิทยาคม
กล่าวว่า บัวเผื่อนขึ้นเองตามธรรมชาติตลอดอาเซียอาคเนย์ เฉพาะ
ในแหลมมลายูนั้น มีมากจนพบขึ้นอยู่ตามคูข้างถนนทีเดียว เนื่องจาก
สีของมันแปลกกว่าดอกไมน้ำชนิดอื่น จึงมองเห็นได้ง่ายมาก
บัวผัน Nymphaea stellata ดอกคล้ายบัวเผื่อน เมื่อแรก
บานสีครามอ่อน ต่อมาเปลี่ยนสีเป็นม่วง ชมพู หัวรับประทานได
ไม่ขม ลายไม่ใชตมแกง แต่รับประทานดิบเป็นผักจิ้ม
บัวจทธาสิโนบล Nymphaea capensis var zanzibarien-
sis มีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีม่วง สินค้าเงิน ฟัา ครามอมม่วง สี
กุหลาบแก่ หลังกลีบนอกสีเขียวปลอด ไม่มีจุดหรือขีดดำ กลิ่นหอม
แรง โคนเกษรเหลือง กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดบนเกาะแซนซิบาร์
รัฐทานกันยิกา อาฟริกาใต้ พระวิมาดา กรมพระสุทธาสินีนาถ ทรง
นำจากชวาเมื่อปี พิ ศ. 2444 เขามาปลูกในเมืองไทยสมัยรัชกาล
ที่ 5 ปรากฏว่าตัวชนิดนี้เขากับดินฟ้าอากาศเมืองไทยได้ดี แต่ยัง
ไม่มีชื่อใ?าษาไทย ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ จึงได้ขนานนาม
ว่า “สุทธาสิโนบล"
ดร. เสริมลาภ วสุวัต กล่าวว่าอุบลชาติพันธุ์นึ้มีชื่อสามัญว่า
oyal purple และ RwaI BIe
|

บัวสายสีแดง
|
บัวหลวง, นันท์ บุรณศิริ, อนุสาร อสท., กันยายน ๒๕๔๐, หน้า ๗๒ - ๘๐.
บัว ราชินีแห่งไม้น้ำ, คุณหญิงคณิตา เลขะกุล, หน้า ๑๔-๑๙. |
|
แ
| |
|